บทที่ 15
การศึกษาความเหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
หลังจากศึกษาจบบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาจะมีความสามารถดังนี้
(After studying this chapter, you will be able to)
- อธิบายวิธีการและขั้นตอนในการพิจารณาจัดซื้อ
- เข้าใจการสร้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่
- ยกตัวอย่างการประมาณงานของระบบงานที่ใช้อยู่
- เข้าใจการพิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- อธิบายระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และการใช้งาน
- เข้าใจการพิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟแวร์
- ยกตัวอย่างการประมาณการต้นทุนและผลตอบแทน
- จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ “ระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และการใช้งาน”
- สนทนาเชิงปฏิบัติการ “การพิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟต์แวร์”
- อธิบายคำศัพท์ได 8 คำ
บทที่15
การศึกษาความเหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
นักวิเคราะห์ระบบได้ทำการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบอย่างถ่องแท้แล้วนอกจากนี้ยังจะต้องทำการจัดสรรให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารข้อมูล โดยจำเป็นจะต้องใช้วิธีการอย่างมีระบบในการชี้นำเพื่อตัดสินใจ
ในปัจจุบัน ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มีราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก และซอฟต์แวร์มากมายหลากหลาย ก็ถูกนำออกมาจำหน่ายและเผยแพร่ในท้องตลาดนับไม่ถ้วนทำให้ทุกๆ องค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากสำหรับยุคปัจจุบัน แต่การซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ควรมีขั้นตอนในการจัดซื้อ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ตามต้องการไม่เป็นการลงทุนที่สุญเปล่าในบทนี้จึงกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการพิจารณาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อย่างคุ้มค่า
วิธีการและขั้นตอนในการพิจารณาจัดซื้อ
วิธีการและขั้นตอนในการพิจาณาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์อย่างคุ้มค่าสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการพิจารณาคือ
- สำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว
- การประมาณงานของระบบงานที่ใช้อยู่
- พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- ระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และการใช้งาน
- พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟต์แวร์
- ประมาณการต้นทุนและผลตอบแทน
เมื่อได้พิจารณาตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นให้ดีแล้ว นำผลที่ได้รับมาเปรียบเทียบหาความเหมาะสมที่สุด
การสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้ว
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วในองค์กร และจัดทำออกมาในรูปแบบของบัญชีทรัพย์สินที่แสดงรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ แต่ถ้าได้มีการทำบัญชีทรัพย์สินเอาไว้แล้ว ให้นำบัญชีนั้นมาแล้วทำการสุ่มตัวอย่างขึ้นมาทำการตรวจสอบว่า อุปกรณ์และซอฟต์แวร์นั้นๆ มีคุณภาพหรือมีอุปกรณ์อยู่ครบตามบัญชีทรัพย์สินจริงหรือไม่
รายละเอียดของการสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ มีดังนี้
- รุ่นยี่ห้อของอุปกรณ์ (Type of Equipment) ได้แก่ CPU อุปกรณ์เก็บข้อมูล Input Output อุปกรณ์สื่อสาร รุ่นอะไร ใครเป็นผู้ผลิต เป็นต้น
- สถานะหรือสภาพปัจจุบันของอุปกรณ์ (Status) ได้แก่ อยู่ในระหว่างการสั่งซื้อกำลังใช้งานอยู่ เก็บเอาไว้ ชำรุดเสียหาย อยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง เป็นต้น
- ประมาณอายุการใช้งานของเครื่อง (Age of Equipment) โดยนับจากวันที่ซื้อถึงวันที่ทำการสำรวจ
- ประมาณอายุการใช้เครื่องรุ่นนั้นๆ สามารถใช้ได้ (Projected Life)
- ตำแหน่งที่ตั้งของเครื่อง (Location) อยู่ที่ใด ห้องใด ชั้นใด โต๊ะใคร
- เครื่องอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใดหรือบุคคลใด (Who s Responsible)
- สถานภาพทางการเงินและกรรมสิทธิ์ของเครื่อง (Financial Arrangement for Equipment) ธุรกิจได้ซื้อขาด หรือเช้าซื้อ หรือเช่า ถ้าเป็นการเช่าหรือเช้าซื้อจะตองมีการตรวจสอบสัญญาต่างๆ ว่ามีข้อผูกพันกันอย่างไรด้วย
การประมาณงานของระบบงานที่ใช้อยู่
เป็นการประมาณปริมาณงานของระบบ (Estimating Workloads) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องรองรับได้ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงปริมาณงานที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันแต่ละวัน เพื่อพิจารณาดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่แล้วนั้นสามารถที่จะรองรับการทำงานนั้นๆ ได้หรือไม่ นอกจากจะมองงานที่เกิดในปัจจุบันแล้ว ยังจะต้องมองไปในอนาคตอีกด้วย ถ้าหากงานมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือปุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องยังสามารถที่จะรองรับงานในอนาคตได้อีกนานแค่ไหนและได้ปริมาณมากน้อยเพียงใด
การมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจ้ะองคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครื่องที่สามารถจะรองรับงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และงานที่อาจจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นต่อไปอีกในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้ลดความยุ่งยากในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใหม่และจะต้องทำการถ่ายข้อมูลจากระบบเก่าสู่ระบบไหม้ด้วย
การพิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
หน้าที่ในการพิจารณาจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นของผู้บริหารผู้ใช้ระบบ และนักวิเคราะห์ระบบที่จะต้องร่วมมือกันพิจารณา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ทำการประเมินในขั้นต้นก่อนที่จะถึงการประเมินของผู้บริหาร ฉะนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของคอมพิวเตอร์โดยคร่าวๆ เพื่อนที่จะนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการพิจารณาด้วย สิ่งที่ควรจะดูโดยทั่วไปแล้ว คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูลเข้า และการออกผลลัพธ์ ความจะในการเก็บข้อมูล ความสามารถในการขยายหน่วยความจำ และอัตราความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรดูด้วยว่าเครื่องนั้นๆ สามารถที่จะทำการ Upgrade ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะต้องทำการเปรียบเทียบกันหลายๆ เครื่อง หลายๆ ยี่ห้อด้วย เพื่อให้ได้เครื่องและอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุด
เมื่อทำการตรวจสอบและได้ผลการตรวจสอบและเปรียบเทียบอย่างพอเพียงแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาก็จะต้องทำการตัดสินใจว่าจะทำการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพิ่มหรือจะใช้ของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และการใช้งาน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะความรวดเร็วของเทคโนโลยีนี้เองเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการศึกษาถึงรุ่นและแบบต่างๆ ของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่จะต้องมีการพิจารณาจัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็มีอยู่หลายระดับ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ที่ต้องศึกษาและนำมาพิจารณา ดังนี้
- ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ราคาในปัจจุบันไม่แพงมาก แต่คุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าในสมัยก่อนมาก คาดว่าในอนาคตคงจะมีแต่การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์กันหมดไม่มีใครใช้มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเหรมอีกต่อไป
- มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับกลาง เหมาะสำหรับการนำไปทำเป็นระบบเครือข่ายและรองรับการทำงานของระบบข้อมูลใหญ่ๆ เช่น การต่อพ่วงอุปกรณ์ต่าง ๆ ราคาจะสุงกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์
- เมนเหรม (Mainframe) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่ ที่มีไมโดรโพเซสเซอร์หลายตัวในเครื่องเดียว มีการประมวลผลแบบขนาน (Parallel) ทำให้อัตราการประเมินผลมีความรวดเร็วอย่างมาก และยังสามารถที่จะต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงเป็นเครื่องที่เหมาะสำหรับหน่วยงานใหญ่ที่ต้องการประมวลผลอย่างรวดเร็ว และมีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูง ส่วนราคาก็ค่อยข้างสูงจึงนิยมใช้กันเฉพาะกับหน่วยงานใหญ่ๆ ที่มีระบบงานซับซ้อนและต้องการความเชื่อถือได้ของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงเท่านั้น
การพิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟแวร์
ปัจจุบันซอฟต์แวร์อยู่มากมายหลายชนิดในท้องตลาด ซึ่งสามรถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังต่อไปนี้
- ซอฟแวร์แบบแพคเกจสำเร็จรูป (Packaged Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานทั่วไป เช่น Lotus1-2-3-, dBase Version ต่างๆ , Microsoft Access, Microsoft Excel, Microsoft Word เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นสำหรับงานเฉพาะด้านสำหรับธุรกิจ (Application Software) เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับระบบงานบัญชี ระบบงานสินค้าคงคลัง เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบงาน (Software Tools) เป็นซอฟต์แวร์ที่นักวิเคราะห์ระบบหรือโปรแกรมเมอร์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบงานหรือโปรแกรมขึ้นอีกที่หนึ่ง
การที่ซอฟต์แวร์มีอยู่มากมายหลากหลายในท้องตลาดนั้น ทำให้สามารถจะเลือกซื้อและใช้ได้ในทันที แต่ซอฟต์แวร์ก็มีจุดดีจุดเสียไม่เหมือนกัน การเลือกซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งานจะต้องทำการเลือกอย่างรอบคอบ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาซอฟต์แวร์แตกต่างกัน
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาซอฟต์แวร์ต่างๆ กันแบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ
- จะต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่ตรงต่อความต้องการ (Requirements)
- ประสิทธิภาพในการทำงานของซอฟต์แวร์ (Performance)
- งานต่อการใช้งาน (Easy to Use)
- มีความยืดหยุ่นพอควร (Flexibility)
- คุณภาพของเอกสารและคู่มือการใช้ (Quality of Documentation)
- การรับรองและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตและผู้ขาย (Manufacturer Support)
การพิจารณาซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจนั้น นอกจากหลักเกณฑ์ 6 ข้อข้างต้นแล้ว ยังจะต้องมีการทำข้อมูลขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อทดสอบซอฟต์แวร์นั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าซอฟแวร์นั้นๆ ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามที่ได้สร้างเอาไว้หรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของซอฟต์แวร์นั้นๆ ให้ดีเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
การประมาณการต้นทุนและผลตอบแทน
สิ่งสุดท้ายที่จะทำการวิเคราะห์ คือ กรคิดต้นทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากระบบหากระบบต้องมีการใช้เงินในการลงทุนสูงมากเพื่อนำมาพัฒนา แต่ผลตอบแทนจากระบบกลับมีค่าที่ต่ำกว่า แสดงว่าหากมีการพัฒนาระบบขึ้นมาจริงๆ เงินที่ลงทุนไปกลับไม่คุ้มค่าต่อผลที่จะได้รับ จังไม่คุ้มที่จะทำการลงทุนในงานนั้นๆ
กลุ่มของต้นทุน (Costs) สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- ต้นทุนที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน (Tangible Costs)
- ต้นทุนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน (Intangible Costs)
กลุ่มของผลตอบแทน (Benefit) สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- ผลตอบแทนที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน (Tangible Benefit)
- ผลตอบแทนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน (Intangible Benefit)
วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน (Cost and Benefit Analysis Methods) เทคนิคที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนสำหรับระบบงานที่นำเสนอ มีหลายวิธีได้แก่
- การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break – Even Analysis)
- ระยะเวลาคืนทุน (Pay – Back Analysis)
- มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
คำศัพท์ บทที่ 15
การศึกษาความเหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
Type of Equipment |
รุ่น ยี่ห้อของอุปกรณ์ |
Status |
สถานะหรือภาพปัจจุบันของอุปกรณ์ |
Age of Equipment |
ประมวลอายุของเครื่อง |
Location |
ตำแหน่งที่ตั้งของเครื่อง |
Estimating Workloads |
การประมาณปริมาณงานของระบบ |
Microcomputer |
ไมโครคอมพิวเตอร์ |
Minicomputer |
มินิคอมพิวเตอร์ |
Mainframe |
เมนเฟรม |
Packaged Software |
ซอฟต์แวร์แบบแพคเกจสำเร็จรูป |
Requirements |
ซอฟต์แวร์ที่ตรงต่อความต้องการ |
Performance |
ประสิทธิภาพในการทำงาน |
Flexibility |
มีความยืดหยุ่น |
Quality of Documentation |
คุณภาพของเอกสารและคู่มือการใช้ |
Manufacturer Support |
การรับรองและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ |
Tangible Costs |
ต้นทุนที่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจน |
Intangible Costs |
ต้นทุนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจน |
Tangible Benefit |
ผลตอบแทนที่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจน |
Intangible Benefit |
ผลตอบแทนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจน |
Cost and Benefit Analysis Methods |
วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและ-ผลตอบแทน |
Break-Even Analysis |
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน |
Pay-Back Analysis |
ระยะเวลาคืนทุน |
Present Value |
มูลค่าปัจจุบัน |